วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่  16
วันอังคารที่  25 กันยายน พ.ศ.2555


ความรู้ที่ได้รับ

1. อาจารย์สรุปการทำงาน  ส่งงาน  และอธิบายแผนการสอน
2. บอกรายละเอียดของการทำงานในบล็อก  เช่น  ลิงค์โทรทัศน์ครู  ลิงค์สสวท.
3. อาจารย์ให้นักศึกษาโทรทัศน์ครู  แล้วสรุป รวมทั้งอ่านบทความแล้วสรุป
4. อาจารย์ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแท็ปแล็ตกับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่  1  และใช้กับเด็กปฐมวัย
5. อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้
    - แผนที่และความคิด
    - การเป็นแบบอย่าง
    - การบวนการแก้ปัญหา
    - ระดมความคิด
    - สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
    - ลงมือปฏิบัติ   ในชั้นเรียน  สภาพแวดล้อม
    - เขียนบันทึก

การบูรณาการ

1. การบูรณราการให้เป็นเนื้อเดียวกัน
2. การบูรณราการให้เห็นร่องรอย

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้ง 15

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ.2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

1. อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานที่ได้ไปลงจัดกิจกรรมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กโรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม 
2. อาจารย์ได้แนะนำหลักการจัดที่ถูกต้อง  และการใช้คำถามที่เหมาะสมในการใช้กับเด็กในวัยต่างๆเป็น    คำถามที่เปิดกว้างและฝึกให้เด็กได้คิดอย่างอิสระ
3. อาจารย์จะจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปฐมวัย โดยให้นักศึกษาแสดงความสามารถต่างๆ เช่นทางด้านการแสดง  ทางด้านกีฬา  ความสามารถทางด้านการร้องเพลง และอื่นๆ

***งานที่ได้รับมอบหมาย

1. กลุ่มที่ยังไม่ด้นำเสนองานในครั้งนี้  ให้เตรียมนำเสนองานในครั้งหน้า

2. ให้นักศึกษาที่อาจารย์ได้เลือกไว้ไปฝึกการแสดงต่างๆในการทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเพื่อแสดงในวันพุธที่ 26 กัยยายน  พ.ศ.2555
บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ.2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นวันที่จัดกิจกรรมให้กับเด็ก


เรื่องแก้วแรงดัน
- การทดลองแรงดันอากาศเวลาอยู่ใต้น้ำ
- แรงดันอากาศที่อยู่ภายใต้น้ำจะเป็นอย่างไร?
อุปกรณ์ 1.แก้วน้ำ 2.ลูกปิงปอง 3.ทิชชู่ 4.อ่างใส่น้ำ
การทดลอง
1.เมื่อเราใส่ลูกปิงปองในน้ำลูกปิงปองก็จะลอยปกติ พอลองกดลูกปิงปองแล้วปล่อยมือมันก็จะลอยขึ้นมาเหมือนเดิม 
2.เมื่อ เรากดลูกปิงปองด้วยแก้วน้ำลูกปิงปองจะอยู่ปากแก้ว เพราะแรงดันอากาศทำให้น้ำไม่สามารถเข้าไปในแก้วได้ ลูกปิงปองจึงไม่สามารถลอยขึ้นมาได้จะอยู่เสมอระดับปากแก้ว แสดงให้เห็นว่าในแก้วนั้นมีอากาศอยู่ และอากาศภายในแก้วมีแรงดันมากกว่าอากาศภายนอกแก้ว อากาศภายในแก้วจึงดันไว้ไม่ให้อากาศภายนอกดันลูกปิงปองหรือน้ำไม่ให้เข้าไป ในแก้ว
3.ใส่กระดาษทิชชู่ลงไปในแก้ว แล้วคว่ำลงไปในอ่างน้ำ ผลการทดลองคือ กระดาษทิชชู่แห้งปกติเป็นเรื่องของแรงดันอากาศที่อยู่ภายในตัว 
*ข้อสังเกต แต่ถ้าเอียงแก้วน้ำแล้วกดลงไปที่ผิวน้ำ ก็จะมีน้ำส่วนหนึ่งไหลเข้าไปในแก้วได้ เพราะมีช่องเปิดอากาศไหลออกมาน้ำจึงไหลเข้าไปแทนที่ ประโยชน์นี้นำไปใช้ประโยชน์ในการดูดหมึกไล่หมึกออกหรืการใช้เข็มฉีดยา







บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่  13

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ.2555
เนื้อหาที่เรียน
 
1. ส่งงานการจัดทำป้ายนิเทศ
2. ส่งงานกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์แนะนำขั้นตอนการเตรียมงานวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปลงปฎิบัติในโรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
***งานที่ได้รับมอบหมาย

1. จัดกิจกรรม ทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่  12

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2555



***ไม่มีการเรียนการนอนเนื่องจากอาจารย์ประชุม***



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่  21  สิงหาคม พ.ศ.2555

แผนภูมิ




 


 เนื้อหาที่เรียน
   แนวคิด คือ แก่นเนื้อหาสาระที่ใช้เชื่อมโยงในสิ่งที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมวิทยาศาสตร์
1.กิจกรรมใครใหญ่
แนวคิด : น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดของมือคร
ขั้นตอน
1.นำขวดน้ำใสวาง
2.เทน้ำลงไปในขวดครึ่งขวดและทำเครื่องหมายเอาไว้
3.ให้เด็กนำมือของตนเองมาหย่อนลงไปในน้ำทีละคน
4.ครูทำเครื่องหมายสรุปเอาไว้
5.ครูและเด็กช่วยกันสรุป
สรุปผล ระดับน้ำในขวดแล้วใสจะสูงขึ้นมากกว่าเดิมตามขนาดฝ่ามือของเด็ก

2.กิจกรรมใบไม้สร้างภาพ
แนวคิด : สีจากใบไม้สามรถสร้างภาพได้เหมือนจริง
ขั้นตอน
1.เด็กสังเกตุใบไม่ที่เก็บมา
2.นำกระดาษวาดเขียนมาพับเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
3.วางใบไม่ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่พับเอาไว้
4.ใช้ค้อนเคาะเบาๆ บริเวณที่มีใบไม้อยู่
5.เมื่อเปิดกระดาษออกให้เด็กช่วยหาเหตุผล
สรุปผล
1.น้ำสีจากใบไม่จะเป็นรูปร่างบนกระดาษ
2.โครงร่างที่ได้จะเหมือนใบไม้ทุกประการ
3.สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติ เราจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

3.กิจกรรมมาก่อนฝน
แนวคิด : น้ำเมื่อได้รับความร้อน บางส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียก ไอน้ำ
ขั้นตอน
1.นำขวดแก้วที่แช่เย็นมาให้เด็กจับและถามความรู้สึก
2.เทน้ำอุ่นไว้ประมาณครึ่งขวด วางน้ำแข็งไว้บนปากขวด
3.เด็กสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น
4.อาสาสมัครเป่าลมเข้าไปในขวดที่สอง
5.เมื่อหยุดเป่าลมจะเห็นกลุ่ม เมฆจางๆ
สรุปผล
1.เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวด ควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง
2.กลุ่มเมฆจางๆ ในขวดเกอดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผ่กระจาย
3.สภาพภายในขวดเย็นลง ดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นไอเมฆหรือละอองน้ำ

4.กิจกรรมทำให้ร้อน
แนวคิด : แรงเสียดทานเป็นแรงพยายามซึ่งหยุดการลื่นไหล ไปบนสิ่งต่างๆ พลังงานจำเป็นต้องเอาชนะแรงเสียดทาน แรงเสียดทานนี้เป็นความร้อน
ขั้นตอน
1.ครูแจกดินสอและหนังสือใหเด็กคนละหนึ่งชุด
2.ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
3.นำดินสอมาถูกับสันหนังสือประมานสามวินาที
4.นำดินสอมาแตะกับผิวหนัง
5.เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส
สรุปผล
1.แรงเสียดทานหนังสือกับสันหนังสือทำให้เกิดความร้อน
2.นำส่วนที่ถูกับสันของหนังสือมาแตะที่ผิวหนังส่วนใดส่วนหนึงโดยเฉพาะริมฝีปาก จะมีความรู้สึกว่าร้อน

***งานที่ได้รับมอบหมาย
      แบ่งกลุ่ม 4 คน ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์




บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่  10
วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2555

 


***ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม***
      แต่นัดมาเรียนชดเชยวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2555
บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2555



***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์มีประชุม***
      แต่นัดมาเรียนชดเชยวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2555
บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2555



***ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาค***

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2555
เนื้อหาที่ได้เรียน

การออกหน่วยการเรียนรู้
1. การตั้งคำถาม
2. วาดรูป
3. การเล่าเรื่องตามภาพต่อๆกันเป็นกลุ่ม
4. ประดิษฐ์งานศิลปะ
การทำให้เด็กได้เรียนรู้ ควรทำดังนี้
1.ดูของจริงและนำมาเสริมกับองค์ความรู้เดิม
2.ดูจาก VDO
3.ดูจากรูป
4.พาไปทัศนศึกษาหรือนำผู้รู้มาเล่าประสบการณ์
การสะท้อนกลับ
1. ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง
2. แสดงบทบาทสมมุติ
3. จัดนิทรรศการ
4. เกม
งานที่ได้รับมอบหมาย
1.เขียนแผนการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย
2.แบ่งกลุ่มๆละ 11 คน ทำฐานวิทยาศาสตร์เรื่องต่างๆ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2555


เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
1.เด็กเรียนรู้จากการเล่น ของเล่นเป็นแรงจูงใจแก่เด็ก
2.เด็กควรมีอิสระจากการเล่นจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินปลดปล่อยอารมณ์ได้รับความผ่อนคลาย
3.สื่อ วิทยาศาสตร์ที่นำเสนอทั้ง 2 ชิ้น ทำให้เราเข้าใจทักษะวิทยาศาสตร์ และให้เด็กได้เรียนรู้จากการที่เด็กได้เล่น ได้ทำเป็นขั้นตอน ทีการวางแผน จัดลำดับกระบวนการ การถาม และฝึกให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
4.แก้ไขงานกลุ่ม เรื่องวันเข้าพรรษา
บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

1.นำเสนอผลงานวิทยาศาสร์หน้าชั้นเรียน ได้แก่ B-BOY และ ตุ๊กตาคืนชีพ
 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4
วันอังคาร ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
 นื้อหาความรู้ที่ได้รับ
  1.ส่งงานหน่วยการเรียน เรื่อง วันเข้าพรรษา
  2.ดู VCD วิทยาศาสตร์แสนสนุก ชุด มหัศจรรย์ของน้ำ
  - รู้ว่าฝนเกิดจากอะไรจากการทดลอง
  - น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์
  3.รู้วิธีการทดลอง + เทคนิค + การจัดลำดับเรื่องราวโดยใช้ตัวละคร + การตั้งคำถาม + สรุปอธิบาย

  4.มีการนำเสนอด้วยภาพอนิเมชั่น + เนื้อหา + สื่อที่เป็นของจริงในการทดลองกับสื่อที่เป็นความหมาย     จากอนิเมชั่น

  5.ได้ข้อคิดและนำไปประยุกต์ใช้ในการสอน


เช่นเนื้อหาที่สอนควรคำนึงถึงเรื่องต่างๆของเด็กเช่นวัย พัฒนาการทางด้านต่างๆ


งานที่ได้รับมอบหมาย
1.แบ่งกลุ่มๆ ละ 2 คนทำสื่อวิทยาศาสตร์
2.คิดสื่อการสอนแบบง่ายที่เด็กสามารถทำได้ 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2555


 



เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 1.การเรียนรูhเกิดขึ้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แสดงออกมาซึ่งแต่ละคนอาจจะมีความแตก ต่างกัน
 2.การรับรู้เกิดจากการรับข้อมูลแต่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใด
 3.เมื่อมีการรับรู้ข้อมูลมากๆ ทำให้เกิดการทับซ้อนและเชื่อมโยงของข้อมูล*จึงเกิดเป็นความรู้ใหม่*เป็นการทับซ้อนของข้อมูลเก่าและข้อมูลใหม่

วิธีการเรียนรู้ 
 เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ การใช้ประสาทสัมผัสธ์ทั้ง5กระทำกับวัตถุ(ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสธ์) 
วิทยาศาสตร์ 
 แบ่งออกเป็น  สาระ กับทักษะ
           สาระ - เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก บุคคลสถานที่และสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
          ทักษะ - สังเกต  จำแนก การสื่อความหมาย ลงความเห็นจากข้อมูล การหาความสำคัญพื้นที่ ต่อพื้นที่ และพื้นที่กับเวลา

           ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - สังเกต เปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร  การทดลอง การสรุปและนำไปใช้ 
การจัดประสบการณ์  - ทฤษฎีการจัด  หลักการจัด กระบวนการจัด เทคนิคการจัด สื่อสนุบสนุนในการจัด การประเมินผล

งานที่ได้มอบหมาย
1.หาสติปัญญาด้านวิทยาศาสตร์ของเด็ก อายุ 4 ขวบ
2.หาสิ่งที่จะสอนเด็กมา 1 อย่าง และจับกลุ่ม 4 คน
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2555
 เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
  1.อาจารย์ได้เข้ามาปฐมนิเทศน์ ให้กับนักศึกษาทุกคน
  2.พูดถึงการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเบื้องต้น




 งานที่มอบหมาย 
  1.หามาตราฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และลิงค์ใส่ในบล็อกของตนเอง
  2.สร้างบล็อกของตนเองขึ้น